วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เครื่องมือในการคิดเชิงระบบและการวิเคราะห์ปัญหาที่ 11 Causal Loop Diagram: CLD


ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นไทย


แผนภูมิวงรอบเหตุและผล (Causal Loop Diagram : CLD)
แผนภูมิวงรอบเหตุและผล CLD จะทำให้มองเห็นความสัมพันธ์  และปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่อาจจะเกิดขึ้นได้ประกอบด้วยหลายองค์ประกอบดังนี้
วงรอบการป้อนกลับ 1 วงรอบ หรือ มากกว่า ซึ่งเป็นทั้งกระบวนการเสริมแรงและกระบวนการสร้างความสมดุล
ความสัมพันธ์ของเหตุและผลกระทบระหว่างตัวแปรต่างๆ
ความหน่วงของเวลา(Delays)คือ มีปัญหา(input)เข้ามา
การวาดปัญหาออกมาเป็นแผนภูมิ จะทำให้มองออกว่า อะไร Must know อะไร Should know
S = Same หรือ + (Positive)
O = Opposite หรือ – (Negative)
R = Reinforcing Loop วงรอบเสริมแรง
B = Balancing Loop วงจรปรับสมดุล
วงรอบเสริมแรงจะขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน
การเขียนผังเชิงระบบ
(System Diagram/Casual loop)

-กำหนด ประเด็นปัญหาหลักให้ชัดเจน (ที่เรื้อรังและเกิดซ้ำ) และสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหา อาการของปัญหา และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง
-ระบุ ตัวแปรที่สำคัญ ที่เป็นส่วนทำการขับเคลื่อนความเป็นไปของเหตุการณ์  โดยระบุชื่อให้ชัดเจนใช้คำพูดเป็นกลางหรือที่เป็นบวก
-ศึกษาพฤติกรรมโดยมองย้อนเวลาถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
-เขียนกราฟแสดงพฤติกรรมเทียบกับเวลา (BOT)
-ทบทวนความสัมพันธ์ของตัวแปร
-วาดผังเชิงระบบ (System diagram)

เครื่องมือในการคิดเชิงระบบและวิเคราะห์ปัญหาที่ 10 Spider Model











SPIDER MODEL : เป็นการนำเสนอแนวคิดทางธุรกิจไว้ ใน 1 หน้ ากระดาษ เพื่อให้ เห็นภาพไอเดียธุรกิจที่ชัดเจนและเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพัฒนามาจาก Business Canvas* และ Lean Canvas การนำเสนอภายใต้ กรอบโมเดลนี้จะทำให้ ผู้ประกอบการและนักลงทุนสามารถวิเคราะห์ ภาพรวมของความเป็นไปได้ ทางธุรกิจ โดยวิเคราะห์ตามขั้นตอนในการคิดแบบเชื่อมโยงของปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ และสามารถประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น คือ 
1. Product Risk 
2. Customer Risk 
3. Market Risk
4. Financial Risk 
            รวมถึงการประเมินร่วมกับปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรค เพื่อวิเคราะห์ ว่าแนวคิดที่ผู้ประกอบการนำเสนอมีความเป็นไปได้ (Feasibility) ภายใต้ สถานการณ์ ณ ปัจจุบันมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตามระดับของความเป็นไปได้ ย่อมขึ้นอยู่ กับดุลยพินิจของนักลงทุน แต่ ละคนว่าสามารถรับความเสี่ยงได้ มากน้อยแค่ไหนเทียบกับผลตอบแทนที่ได้ รับโมเดลนี้มีวัตถุประสงค์ ให้ ผู้ประกอบการได้ นำเสนอแนวคิดที่นอกจากจะเห็นภาพไอเดียของตัวธุรกิจแล้วยังครอบคลุม ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอย่างครบถ้วน รวมทั้งช่วยให้ เห็นภาพด้านผลตอบแทนและความเสี่ยงของธุรกิจได้ ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกด้วยคำอธิบายตามกรอบ SPIDER MODEL
            สินค้าและบริการ : ประเภทของผลิตภัณฑ์และบริการที่ต้องการนำเสนอ
1. ปัญหาของลูกค้ า (Problem) : เป็นการคิดโดยใช้ ความต้องการของลูกค้าเป็นที่ตั้ง (ที่เรียกว่า Customer Development) โดยระบุปัญหาที่ลูกค้าเจอคืออะไร ผู้ประกอบการจะสามารถวิเคราะห์ได้ ถึงขนาดของตลาดว่าใหญ่ หรือเล็กเพียงใด ได้โดยประมาณการจากจำนวนของลูกค้าที่ต้องเจอกับปัญหาดังกล่าว
2. ทางออกของปัญหา (Solution) : สินค้าของเราสามารถแก้ ปัญหาของลูกค้าได้ อย่างไร เป็นการนำเสนอทางเลือกในการออกจากปัญหาด้วยวิธีการที่แตกต่างจากสินค้าเดิมในตลาด เพื่อให้เข้าถึงโอกาสทางการตลาดและการเติบโตของธุรกิจในอนาคต
3. คุณค่าของสินค้าที่นำเสนอ (Unique Value Proposition) : คุณค่าหลักของสินค้าและบริการที่ต้องการนำเสนอ จะเห็นว่าใช้ คำว่า Unique คือเป็นคุณค่าหลักที่ต้องแตกต่างจากคู่ แข่งหรือสินค้าเดิมในตลาด 4. กลุ่มเป้าหมาย (Target Customer) : การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าของธุรกิจ ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ยอมควักเงินซื้อสินค้ าและบริการของเรา
5. ช่องทางการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (Channel) : วิธีการที่จะนำสินค้าให้ เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงการกระจายสินค้า ซึ่งอาจทำได้หลากหลายวิธี
6. ทรัพยากรหลักที่มี (Key Resource) : ซึ่งเป็นได้ทั้งคน ทรัพย์สิน ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นทรัพยากรที่มีและใช้ สร้างความได้ เปรียบด้านการแข่งขันให้ กับธุรกิจได้ หรือเป็นทรัพยากรที่ช่วยสนับสนุนให้ แผนธุรกิจดังกล่าวมีความเป็นไปได้ ลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการและนักลงทุน
7. กิจกรรมหลักของธุรกิจ (Key Activities) : เป็นการดำเนินงานหลักของธุรกิจที่จะทำให้ เกิด Unique Value Proposition ในสินค้าและบริการ เรียกได้ ว่าเป็นกิจกรรมที่จะทำให้โมเดลนี้ทำงานก็ว่าได้
8. กระแสรายได้ (Revenue Stream) : ช่ องทางของรายได้ที่เข้ามาให้เห็นความชัดเจนว่าธุรกิจจะมีรายได้ จากช่องทางไหน อย่างไร และเท่าไร
9. ต้นทุน (Cost Structure) : ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจคืออะไรและเท่าไร ทั้งส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และต้นทุนผันแปร (Variable Cost)
10. จุดคุ้มทุน (Break Event) : การประมาณการถึงจุดที่ธุรกิจสามารถทำกำไรได้ เท่ากับต้นทุนที่ลงไป อาจเป็นจำนวนชิ้น หรือเป็นระยะเวลา เพื่อให้ ผู้ประกอบการและนักลงทุนใช้ เป็นแนวทางในการวางแผนด้านการเงินให้ เหมาะสม

11. 4 กรอบสุดท้าย คือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจ เพื่อประเมินว่าธุรกิจมีจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคที่ต้องพบอย่างไรบ้าง



วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เครื่องมือในการคิดเชิงระบบและการวิเคราะห์ปัญหาที่ 7 PDCA

PDCA

   การนำ PDCA cycle มาใช้ในกระบวนการปฏิบัติงานจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ ทำอย่างไรให้บุคลากรในองค์กรมีความเข้าใจและตระหนักในการนำ PDCA cycle มาใช้ขับเคลื่อนสำหรับการปฏิบัติงานของตน ดังนั้นจึงขออธิบายนิยามของ PDCA cycle ดังรายละเอียดต่อไปนี้                          
                           P ( Plan) P = Priority & Purpose & Plan
                           D ( Do) D = DO = Directing & Organizing
                           C (Check) C = Check & Control & Continue
                           A ( Act ) A = Adjust plan & Action to improvement

1. P คือ การวางแผน (Plan) การทำงาน
 ซึ่งเราต้องรู้ว่า เราจะให้ใครทำ (Who) ทำอะไร (What) ทำที่ไหน (Where) ทำเมื่อไหร่ & มีเวลาเท่าไหร่ (When) ทำอย่างไร (How) ภายใต้งบประมาณเท่าไหร่ (How much) ให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Purpose)
ปัญหา มันเริ่มต้นจาก คน 1 คน ไม่ได้มีงานเดียว ทุกๆ คน มีทั้งงานด่วน งานแทรก งานของหัวหน้า งานของเพื่อน สารพัดงานที่มะรุมมะตุ้มกันเข้ามา และที่วุ่นวายมากขึ้นไปอีก ก็คือ หากองค์กรนั้นมีหลายนาย ซึ่งแต่ละนาย ก็สุดที่จะเอาแต่ใจตัวเอง เอาใจไม่ถูก ดังนั้นคนทำงานจึงเริ่มรวน ไม่รู้จะทำงานไหนก่อน พอจะเริ่มทำงานนั้น เอ้า ผู้ร่วมงานถูกดึงไปทำอย่างอื่น งาน รันต่อไม่ได้ พอทำงานหนึ่งเสร็จ เอ้า เวลาไม่พอที่จะทำงานถัดไป ต้องปรับ How (ปรับวิธีการ) อีกแล้ว แต่การปรับ How แบบเหลือเวลาทำงานน้อย ๆ มักจะทำได้ยาก สุดท้ายทีมงานก็ต้องวกกลับมาปรึกษาหัวหน้าทีมอีกครั้ง สำหรับปัญหาเหล่านี้ หากจะแก้ ต้องทำให้ความผันผวนของการดำเนินตามแผนงานมีให้น้อยลง ซึ่งคนที่เป็นหัวหน้าทีม จำเป็นต้อง Priority งานทุกๆ งาน ต้องกำหนดเป้าหมาย (Purpose) ของแต่ละงานไว้ชัดเจน แล้วจึงทำการวางแผนงาน (Plan) และหากต้องการให้ทีมงานปรับตัวได้เร็ว หัวหน้าทีมจะต้องสอน (Coaching) วิธีคิดให้กับทีมงานด้วย ในขณะเดียวกัน หัวหน้าทีมต้องปรับแผนงานเร็ว เพื่อที่จะได้นำพาทีมงาน ทำงานให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้

2. D คือ การลงมือทำ (Do)
ปัญหา มันเริ่มต้นจากความไม่ชัดเจนของหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น แม้ว่าตอนวางแผน จะบอกว่า ให้ใครทำ ให้ฝ่ายไหนทำบ้าง แต่ไม่ได้ระบุไปว่าใครเป็นเจ้าภาพหลัก ทำให้ทีมงานเกี่ยงงานกันได้ง่าย ยิ่งหากไม่ชอบขี้หน้ากันด้วยแล้ว งานยิ่งไม่เดินเลย หรือ ในตอนวางแผนบอกว่า จะต้องใช้อุปกรณ์แบบนี้ เท่านี้ แต่พอทำจริง ปริมาณไม่พอใช้ เพราะตอนวางแผน มองว่างบประมาณไม่พอเลยตัดโน่น ตัดนี่จนความเป็นจริง เกิดความไม่เพียงพอต่อการทำงาน ดังนั้น การแก้ปัญหาเหล่านี้ สิ่งที่ต้องทำในฐานะหัวหน้าทีมงาน ก็คือ การระมัดระวังในการนำทีม (Directing) ซึ่งจะเกี่ยวข้อง กับเรื่อง วิธีการสื่อสาร (Communication) การจูงใจให้ทีมงานอยากทำงาน (Motivation) และหัวหน้าทีมยังต้องทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา (Consulting) ให้กับทีมงานด้วย รวมถึง ต้องมีการจัดกำลังคน และจัดเตรียมทรัพยากรให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน (Organizing) ให้ดี ก่อนที่จะดำเนินการลงมือทำ (Do)

3. C คือ การตรวจสอบ งาน (Check)

ปัญหา มันเริ่มต้นจาก การตรวจสอบนั้นทำได้ง่าย แต่การนำข้อมูลที่ตรวจสอบไปใช้ ควบคุม การทำงานของส่วนงานนั้นๆ มักเป็นไปอย่างเชื่องช้า หรือ ไม่ได้นำไปใช้เลย และเมื่อเวลาผ่านไป พนักงานจะมองว่า การตรวจสอบของเขานั้น ไม่เห็นมีความจำเป็นต้องทำเลย ไม่นานพวกเขาก็จะเลิกทำการตรวจสอบงาน ดังนั้นแนวทางแก้ไข คือ หัวหน้าทีมงาน จะต้องเป็นผู้รับรู้ผลของการตรวจสอบงาน (Check) ของส่วนงานในสังกัดทั้งหมด เพื่อจะได้ทำการ เป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) นำข้อมูล ไปใช้ในการควบคุม ( Control ) ให้ผลงานเป็นตามแผน และหัวหน้างานยังจำเป็นต้องดำเนินการ ติดตาม การตรวจสอบงาน และควบคุมผลงาน อย่าง ต่อเนื่อง (Continue) สม่ำเสมอ เพื่อทำให้ทีมงาน เห็นถึงความสำคัญของงาน

4. A คือ การปรับปรุง แก้ไข งานให้ดีขึ้น (Act)

ปัญหา คือ ในกรณีที่ผลงานออกมาไม่ได้ตามเป้าหมาย ก็ไม่มีใครทำอะไรต่อ และยิ่งงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ พนักงานก็จะทำเหมือนเดิม ซึ่งทำให้องค์กรไม่พัฒนา ดังนั้นแนวทางแก้ไข คือ กรณีที่ทำงานไม่ได้เป้าหมาย หัวหน้าทีมงาน จะต้องทำการปรับแผนงาน (Adjust plan) โดยเน้นในประเด็นวิธีการ (How) และในกรณีที่ทำได้ตามแผนที่กำหนดไว้ หัวหน้าทีมงาน จำเป็นที่จะต้องทำการ สั่งการ (Command) ให้ทุกฝ่าย ตั้งเป้าหมายให้สูงขึ้น เพื่อที่องค์กรจะได้พัฒนาต่อไปไม่สิ้นสุด (Action to improvement)




แผนผังต้นไม้(Tree Diagram)

แผนผังต้นไม้(Tree Diagram)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แผนผังต้นไม้

   ในอดีตท่านคงคุ้นเคยกับการจัดทำแผนผังครอบครัว  (Family  Tree)  และการจัดแผนผังองค์กร  (Organization  Chart)  มาแล้ว  แผนผังต้นไม้นี้ก็ได้รับการพัฒนามาในแนวทางเดียวกัน  นี้เอง

แผนผังต้นไม้คืออะไร
   แผนผังต้นไม้  เป็นแผนผังที่ใช้ในการหามาตรการที่ดีที่สุดจากหลาย ๆ  มาตรการเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้

เมื่อไรจึงจะใช้แผนผังต้นไม้  
 1. เมื่อต้องการแก้ปัญหาโดยมีการกำหนดมาตรการไว้อย่างเป็นระบบ
 2. เมื่อต้องการให้สมาชิกกลุ่มมีมติที่มีความสอดคล้องกัน
 3. เมื่อต้องการแสดงความสัมพันธ์ของปัญหากับมาตรการแก้ไขในรูปของแผนผัง  ซึ่งทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ

วิธีการสร้างแผนผังต้นไม้
ขั้นตอนที่  1  ตั้งเป้าหมาย

   1.1 การตั้งเป้าหมายนั้นอาจจะตั้งจากปัญหาที่ถูกตั้งไว้ในแผนผังก้างปลา  (Cause  and  Effect  Diagram)  หรือ  แผนผังความสัมพันธ์  (Relation  Diagram)  หรือปัญหาที่ได้มาจากที่ใด ๆ  ก็ได้ที่ท่านต้องการจะแก้ไข  จากนั้นให้เขียนเป้าหมายนี้ลงในบัตร  (Card)  แล้ววางบัตรนี้เอาไว้ที่ซ้ายมือสุด  ตรงกลางของกระดาษแผ่นใหญ่
   1.2 เป้าหมายที่ตั้งนั้นหากมีข้อจำกัดหรือข้อกำหนดเงื่อนไขใด ๆ  ให้เขียนข้อความเหล่านั้นลงในบัตรด้วยเช่นกัน

ในการตั้งเป้าหมายนั้น  ประโยคจะต้องสั้น  ง่าย  และกระชับ  เพื่อให้ทุก ๆ  คนเข้าใจ  และจะต้องให้สมาชิกกลุ่มทุกคนเข้าใจด้วยว่า  เหตุใดจึงตั้งเป้าหมายนี้ขึ้นมา  เพราะอะไร

ขั้นตอนที่  2  สร้างชุดมาตรการการแก้ปัญหา  
   2.1 สมาชิกร่วมกันปรึกษาหารือกันว่ามาตรการใดเป็นมาตรการสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายนั้นได้บ้าง  ซึ่งในขั้นตอนนี้เราจะได้  “มาตรการขั้นที่  1”
   2.2 นำมาตรการในขั้นที่  1  ที่ถูกเลือกมาเขียนลงในบัตร  แล้วนำไปเรียงไว้ที่ด้านขวาของบัตรเป้าหมายที่ได้จากขั้นตอนที่  1
   2.3 บัตรที่ได้จากข้อ  2.2  แต่ละบัตร  กลายเป็นเป้าหมาย  และให้หาต่อไปว่า  มาตรการที่จะแก้ไขบัตรมาตรการที่หนึ่งนั้น  จะต้องมีมาตรการอย่างไรต่อบ้าง  กลายเป็นบัตรมาตรการขั้นที่  2, 3  ไปเรื่อย ๆ  จะกระทั่งเจอมาตรการที่พอจะแก้ไขได้  หรือปฏิบัติได้จริง

ขั้นตอนที่  3  ตรวจสอบมาตรการ  และความหมายของความสัมพันธ์

   ให้ตรวจสอบดูบัตรมาตรการทั้งหมดที่ได้จากขั้นตอนที่  2  และตรวจสอบว่ามีอะไรตกหล่นบ้างหรือไม่  และมีความขัดแย้งใดเกิดขึ้นหรือไม่  โดยในการตรวจสอบนั้น  ให้ทำการตรวจสอบ  2  มุมดังต่อไปนี้
   3.1 มาตรการนี้สามารถแก้ปัญหาให้บรรลุผลสำเร็จได้จริงหรือไม่
   3.2 มีทางเป็นไปได้หรือไม่ที่จะบรรลุเป้าหมายได้โดยการใช้มาตรการนี้  เรียกง่าย ๆ  ว่า  ทดลองตรวจสอบจากซ้ายไปขวา  และจากขวาไปซ้าย

ถามจากซ้ายไปขวาเช่น การจะสนับสนุนนักกีฬาให้ติดทีมชาติไทยนั้นต้องมีเทคนิคด้านการกีฬาใหม่ การจะมีเทคนิคการกีฬาใหม่ ๆ  เมื่อจัดจ้างโค้ชจากต่างชาติ

   การจะได้โค้ชต่างชาติมาต้อง.......
   (ดำเนินการถาม  “อย่างไร – อย่างไร”  ต่อไปจนกว่าจะได้มาตรการสุดท้าย)

ในขณะเดียวกันทดลองถามกลับจากขวาไปซ้ายบ้าง

เช่น การจัดจ้างโค้ชจากต่างชาติมา  ทำให้เราได้เทคนิคกีฬาใหม่ ๆ  (จริงหรือไม่)
      เมื่อได้เทคนิคใหม่ ๆ  มา  จะช่วยให้นักกีฬาติดทีมชาติไทยได้  (จริงหรือไม่)

ขั้นตอนที่  4  กำหนดโครงต้นไม้

   เมื่อตรวจสอบแล้วว่าไม่ขัดแย้งกัน  ให้นำบัตรมาตรการไปติดไว้ที่กระดาษในตำแหน่งที่เหมาะสม  (ด้านขวามือของเป้าหมายของแต่ละอัน)  จากนั้นก็ลากเส้นเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายกับมาตรการ  เพื่อทำการสร้างแผนผังต้นไม้

ขั้นตอนที่  5  กำหนดแผนปฏิบัติการ

   สุดท้าย  ทำการกำหนดแผนปฏิบัติการ  โดยกำหนดตามหลักการของ  “5W  2H”  (What,  Why,  Who,  When,  Where,  How  and  How  much)

เมื่อไรจึงจะใช้แผนผังต้นไม้

   โดยทั่ว ๆ  ไปเราอาจเห็นหน้าตาของแผนผังต้นไม้ในหลายรูปแบบด้วยกัน  บางรูปแบบอาจใช้สำหรับเพียงแค่ภาพ  เพื่ออธิบายโครงสร้างขององค์กร  แต่สำหรับแผนผังต้นไม้ที่ใช้ในการแก้ปัญหานั้น  สามารถแบ่งได้เป็น  2  ลักษณะใหญ่ ๆ  ด้วยกัน  คือ
   1. ประเภทการวิเคราะห์แบบ  Why – Why  Tree
   2. ประเภทการวิเคราะห์แบบ  How – How  Tree
   ความแตกต่างของ  Why–Why  Analysis  กับ  How–How  Analysis 
   Why–Why  จะใช้เมื่อเราต้องการจะวิเคราะห์หาสาเหตุรากเหง้า  (Root  Cause)  ของปัญหา  เพื่อสร้างแผนปฏิบัติการที่จุดนั้น ๆ  โดยที่ยอดของแผนผังต้นไม้  จะแสดงปัญหาที่เกิดขึ้น

ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหาด้วย  Why – Why  Tree





เครื่องมือในการคิดเชิงระบบและวิเคราะห์ปัญหาที่ 4 ด้วยเทคนิค 5W2H

5W2H

               คือ การตั้งคำถามในการสำรวจปัญหาและแนว ทางการแก้ไขโดยการท้าทายด้วยคำถาม 5W2H จะใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือปัญหา ได้เกือบทุก รูปแบบ โดยเป็นการคิดวิเคราะห์ (Analysis Thinking) ที่ใช้ความสามารถในการจำแนก แยกแยะ องค์ประกอบต่าง ๆ ของสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งอาจจะเป็นวัตถุ สิ่งของ เรื่องราว หรือเหตุการณ์ นำมาหา ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านั้น เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นความเป็นจริง หรือที่เป็นสิ่งที่สำคัญ จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาจัดระบบ เรียบเรียงใหม่ให้ง่ายแก่ต่อการท า ความเข้าใจ

องค์ประกอบของ 5W2H
 1. Who ใคร คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า ใครรับผิดชอบ ใครเกี่ยวข้อง ใครได้รับผลกระทบในเรื่อง นั้นมีใครบ้าง   2. What ทำอะไร คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า เราจะทำอะไร แต่ละคนทำอะไรบ้าง
  3. Where ที่ไหน คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า สถานที่ที่เราจะทำว่าจะทำที่ไหน เหตุการณ์หรือสิ่งที่ ทำนั้นอยู่ที่ไหน
  4. When เมื่อไหร่ คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า ระยะเวลาที่จะทำจนถึงสิ้นสุด เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำ นั้นทำเมื่อวัน เดือน ปี ใด
  5. Why ทำไม คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า สิ่งที่เราจะทำนั้น ทำด้วยเหตุผลใด เหตุใดจึงได้ทำสิ่งนั้น หรือเกิดเหตุการณ์นั้นๆ
  6. How อย่างไร คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า เราจะสามารถทำทุกอย่างให้บรรลุผลได้อย่างไร เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำอย่างไรบ้าง
  7. How Much เท่าไร คือการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย งบประมาณเท่าไหร่

ประโยชน์ของการคิดวิเคราะห์ 5W2H 
  1. ทำให้เรารู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาเป็นไปของ เหตุการณ์นั้น
  2. ใช้เป็นฐานความรู้ในการนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา
  3. ทำให้เราหาเหตุผลที่สมเหตุสมผลให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
  4. ทำให้เราสามารถประมาณความน่าจะเป็นได้

ตัวอย่างการใช้ 5W1H ในการวิเคราะห์ข้อมูล 
     เริ่มต้นก็คือ เราต้องตั้งคำถามและพยายามหาคำตอบในแต่ละหัวข้อคำถาม โดยการตั้ง คำถามอาจไม่จำเป็นต้องเรียงข้อของคำถาม แต่พิจารณาจากความเหมาะสม การยกตัวอย่างอาจจะ ยังไม่สมบูรณ์เท่าไร แต่จุดประสงค์คือต้องการให้เห็นหรือเข้าใจแนวความคิดในการตั้งคำถามเท่านั้น เราจะยกตัวอย่างการเริ่มต้นทำธุรกิจ


  • คำถามแรก W - Who ตัวแรก – ใครคือลูกค้าของเรา? ใครคือกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้า ของเรา? เราควรระบุกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าของเราได้ เช่น อายุ, เพศ, การศึกษา, ศาสนา, อาชีพ, เงินเดือน, ที่อยู่อาศัย, ขนาดครัวเรือน พฤติกรรมการบริโภค ข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยท าให้เราสามารถ ระบุกลุ่มเป้าหมายลูกค้าของเราได้ชัดเจน เพื่อที่เราจะสามารถวางแผนการผลิต แผนการตลาด หรือ แผนการสร้างสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าของเราได้อย่างถูกต้อง 
  • คำถามที่สอง W – What – เราต้องรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกค้าของเราต้องการ? เราควรระบุ รูปแบบของสินค้าหรือบริการของเราได้ว่า รูปแบบไหนที่ลูกค้าของเราต้องการ และเราสามารถ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าของเราได้ และอะไรที่จะทำให้เราสามารถสร้างความแตกต่างให้กับ สินค้าหรือบริการของเราจากคู่แข่งของเราได้ 
  • คำถามที่สาม W – Where – ลูกค้าของเราอยู่ที่ไหน? เราควรระบุได้ว่าลูกค้าของเราอยู่ที่ ไหนบ้าง และที่ไหนคือที่ที่เราจะสามารถนำเสนอสินค้าของเราให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย 
  • คำถามที่สี่ W – When – เมื่อไรที่ลูกค้าของเรามีความต้องการสินค้า? เราควรระบุได้ว่า ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราต้องการสินค้าหรือบริการของเราเมื่อไร ในช่วงเวลาไหน และต้องการบ่อย แค่ไหน ซึ่งจะช่วยท าให้เราสามารถกำหนดและวางแผนต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าของ เราได้อย่างถูกต้อง 
  • คำถามที่ห้า W – Why – ทำไมลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราต้องซื้อหรือใช้บริการของเรา? เราควรระบุได้ว่าทำไมลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราจะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของเรา แทนที่จะซื้อ จากคู่แข่งของเรา หรือทำไมเราต้องเข้ามาทำธุรกิจนี้ 
  •  คำถามที่หก H – How – เราจะเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราได้อย่างไร? เราควรระบุได้ ว่า เราจะสามารถเข้าถึงลูกค้าของเราได้ด้วยวิธีไหน อย่างไร ซึ่งเราควรมีการวางแผนและกำหนด วิธีการที่เราสามารถเข้าถึงลูกค้าของเราได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากที่สุด 
คำถามสุดท้าย H - How much – เราประมาณการณ์ค่าใช้จ่ายในการตอบโจทย์ของการ แก้ปัญหาหรือตามวัตถุประสงค์เท่าไร